Search this site
Embedded Files
ถึงผมจะช้า แต่ความรู้ผมเร็วนะ
  • 🐢Home
  • วิทยาศาสตร์ ม.1
    • โครงสร้างอะตอมและธาตุ
  • วิทยาศาสตร์ ม.2
    • ระบบหายใจ
    • ระบบขับถ่าย
  • 🐌biology กับ football⚽
    • บทความ
  • 📞contact us
ถึงผมจะช้า แต่ความรู้ผมเร็วนะ
  • ระบบหายใจ (Respiratory system)

ระบบการหายใจ เป็นระบบประกอบด้วยอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ โดยการนำอากาศเข้าและออกจากร่างกายส่งผลให้แก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหาร ได้พลังงาน น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ กระบวนการหายใจเกิดขึ้นกับทุกเซลล์ตลอดเวลา

  • อากาศภายนอกจะเคลื่อนที่เข้าสู่ร่างกายทางรูจมูก ภายในจมูกมีความชุ่มชื้นและมีเส้นขนขนาดเล็กที่ช่วยดักจับฝุ่นละออง

  • อากาศเคลื่อนที่เข้าสู่ท่อลม (trachea) มีลักษณะเป็นท่อกลวงและเข้าสู่หลอดลม (bronchus) ซึ่งจะแตกแขนงเป็นหลอดลมฝอยขนาดเล็กแทรกในปอด (Lung) ทั้ง 2 ข้าง 

  • ปลายสุดของหลอดลมฝอยจะมีถุงลม (alveolus) มีผนังบางและมีจำนวนมากหลายล้านถุง 

  • อวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ กระดูกซี่โครง (rib) โอมล้อมปอดทั้ง 2 ข้าง และกะบังลม (diaphragm) เป็นแผ่นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่อยู่ด้านล่าง กั้นระหว่างช่องอกกับช่องท้อง

อวัยวะเกี่ยวกับการหายใจ 

อวัยวะในระบบหายใจประกอบด้วย จมูก ท่อลม ปอด (ภายในมีหลอดลม หลอดลมฝอยและถุงลม)

🔔 การหายใจเข้าและหายใจออกเกิดขึ้นได้อย่างไร

   อากาศเข้าและออกจากปอดเนื่องจากการทำงานร่วมกันของกะบังลมและกระดูกซี่โครง โดยเมื่อกล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวจะทำให้กะบังลมลดต่ำลง ในขณะที่กล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครงหดตัวจะทำให้กระดูกซี่โครงยกตัวขึ้นส่งผลให้ช่องอกมีปริมาตรเพิ่มขึ้นและความดันภายในช่องอกลดลง อากาศจากภายนอกจึงเคลื่อนที่เข้าสู่ปอดเป็นการหายใจเข้า (inhalation) ในทางกลับกันเมื่อกล้ามเนื้อกะบังลมคลายตัวจะทำให้กะบังลใยกตัวสูงขึ้น ในขณะที่กล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครงคลายตัวจะทำให้กระดูกซี่โครงลดต่ำลง ส่งผลให้ช่องอกมีปริมาตรลดลง และความดันภายในของช่องอกเพิ่มขึ้น อากาศจึงเคลื่อนที่ออกจากปอดเป็นการหายใจออก (exhalation)

การที่แก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศที่หายใจเข้าและหายใจออกมีปริมาณเปลี่ยนแปลงเนื่องจากร่างกายนำแก๊สออกซิเจนที่ได้จากการหายใจเข้าไปใช้ในกระบวนการสร้างพลังงานภายในเซลล์ ทำให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น การที่ร่างกายจะได้รับแก๊สออกซิเจนและกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เรียกว่า การแลกเปลี่ยนแก๊ส (gas exchange) 

การแลกเปลี่ยนแก๊สบริเวณถุงลมกับหลอดเลือดฝอย 

เลือดจากหัวใจห้องล่างขวาซึ่งมีแก๊สออกซิเจนต่ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูง จะถูกลำเลียงมายังหลอดเลือดฝอยที่อยู่ล้อมรอบถุงลมในปอด ภายในถุงลมมีอากาศที่ได้จากการหายใจเข้าซ่งมีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูงกว่าแก๊สออกซิเจนในหลอดเลือดฝอย แก๊สออกซิเจนในถุงลมจึงแพร่ผ่านผนังของถุงลมเข้าไปจับกับเฮโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลืออดแดงที่อยู่ในหลอดเลือดฝอย ส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในหลอดเลือดฝอยมีปริมาณสูงกว่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงลมจึงเกิดการแพร่จากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่งถุงลมและลำเลียงออกจากร่างกายทางลมหายใจออก จากนั้นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนมากและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำจะลำเลียงกลับสู่หัวใจห้องบนซ้ายเพื่อส่งไปยังส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป

กิจกรรม ปอดจุอากาศได้เท่าใด

ปัจจัยที่มีผลต่อความจุอากาศของปอด เช่น เพศ อายุ ความสูงของร่างกาย โดยเฉลี่ยแล้วเพศชายจะมีความจุอากาศของปอดมากกว่าเพศหญิง คนหนุ่มสาวจะมีความจุอากาศของปอดมากกว่าคนสูงอายุ ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือนักกีฬาจะมีความจุอากาศของปอดมากกว่าคนทั่วไป

  • โรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจบางโรค เช่น ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด วัณโรค เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ความจุอากาศของปอดลดลง

  • สาเหตุของการเกิดโรคถุงลมโป่งพองส่วนใหญ่เกิดจากการสูบบุหรี่ สารพิเษในควันบุหรี่เข้าไปทำลายผนังของถุงลมในปอดเป็นผลให้ผนังถุงลมฉีกขาดและรวมตัวกันเป็นถุงลมขนาดใหญ่ขึ้นทำให้พื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊สลดลงจนร่างกายได้รับแก๊สออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ต้องหายใจเร็วขึ้นเพื่อนำแก๊สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ยังเกิดจากการหายใจนำอากาศที่มีควันพิษ ฝุ่นละอองเข้าไปในปอดเป็นระยะเวลานานๆ

ทำอย่างไรเพื่อให้ระบบหายใจทำงานอย่างเป็นปกติ

  • หลีกเลียงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ

  • ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม

  • ใช้หน้ากากอนามัยเมื่อเป็นหวัด

  • ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น

  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่สูบบุหรี่

  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

  • ออกกำลังสม่ำเสมอ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ sithi_toy@hotmail.com
Google Sites
Report abuse
Page details
Page updated
Google Sites
Report abuse